Feeds:
เรื่อง
ความเห็น

คิดถึง..ลมหนาว

เราจึงกลับมา..(พร้อมความชราเล็กน้อย) ^^

รัก..ยูงทอง

… :)

ครู

บทความเรื่อง “ใครคือครู ครูคือใคร ในวันนี้”  โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณสุมน อมรวิวัฒน์

๑. ใครคือมนุษย์

ในโลกนี้มีพลโลกอยู่ ๒ ประเภทเท่านั้ืน ประเภทแรกคือคน และประเภทที่ ๒ คือ มนุษย์ พวกที่เป็นคนนั้น เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ที่พัฒนาแต่ร่างกายและความเป็นอยู่ แต่จิตใจและความรู้สึกนึกคิดหาได้พัฒนาไม่ แต่ละวันจะดำเนินชีวิตไปตามสัญชาตญาณ หิวก็กิน ง่วงก็นอน ใครทำอะไรให้ขัดใจก็โกรธก็ทำร้าย เต็มไปด้วยการแก่งแย่งแข่งดี เอาแต่ได้ ให้ไม่เป็น ชัยชนะเกิดขึ้นจากการทำลายผู้อื่น หลงติดอยู่ในกามและเกียรติยศ หัวใจจึงเร่าร้อนทุรนทุรายอยู่ตลอดเวลา คนพวกนี้ถ้ามาเป็นครู ก็คงจะคิดแต่เพียงว่า ทำอย่างไรถึงจะได้รับ ได้เลื่อนและได้รวย คิดถึงแต่ตัวเอง ซึ่งก็คืิอผู้รับจ้างสอนหนังสือเื้ท่านั้นเอง

ต่อเมื่อคนใดก็ตามที่เริ่มรู้จักวิเคราะห์และปรับปรุงตนเองได้ ฝึกฝนอบรม กาย วาจาและใจ ให้ประพฤติปฏิบัติตนตามหลักของความพอดีและไม่ประมาท รู้จักเป็นผู้ให้และเป็นผู้ที่รักคนอื่นมากกว่าตนเอง ฝึกการใช้สติปัญญาความรู้ที่มีอยู่ เพื่อการสร้างสรรค์มากกว่าทำลาย เห็นคุณค่าของเพื่อนมนุษย์  คุณค่าของธรรมชาติแวดล้อม และคุณค่าของการพัฒนาตนตามทำนองคลองธรรม ชีวิตและจิตใจอยู่เหนือสัญชาตญาณ สามารถระงับอารมณ์อันป่าเถื่อนลงได้ เป็นผู้ที่มีจิตใจสูงและมีจิตใจอิสระ เป็นมนุษย์ที่แท้จริงนั่นเอง ครูที่เป็นมนุษย์เท่าันั้น จึงจะเป็นครูดีเด่นได้

๒.ครูคือกัลยาณมิตร

ความหมายของกัลยาณมิตรนั้น กว้างไกลและลึกซึ้งยิ่งกว่ามิตรแท้ เพราะนอกจากจะเป็นเพื่อนที่มีความจริงใจต่อกันและกันแล้ว กัลยาณมิตรยังเป็นผู้ชี้แนะและช่วยเหลือให้เกิดความเจริญอย่างชอบธรรม ครูที่ยืนสอนอยู่คนเดียวทุกวันๆนั้นเป็นเพียงผู้บอกวิชา แต่ครูที่มองตนเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเห็นว่านักเรียนนั้นคือมนุษย์ที่มีหัวใจ มีความรู้สึกนึกคิด มีพ่อแม่ที่ส่งลูกมาหาครู มาอยู่กับครูที่โรงเรียน ด้วยความหวังว่าครูจะทำงานหนักและมีความรับผิดชอบที่จะจัดกระบวนการและกิจกรรมทุกอย่างให้ลูกของตนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีความรู้ ความสามารถ ความคิด และความดี

เมื่อนักเรียนเดินเข้ามาหาครูนั้น ย่อมหวังว่าจะได้พบมนุษย์คนหนึ่งที่จะให้ความรักและความรู้ ความคิดที่สูงและกว้างไกล ที่จะพึ่งพาได้ ที่จะช่วยให้เข้าใจเมื่อสงสัย ช่วยให้เย็นเมื่อเดือดร้อน ช่วยให้เห็นทางสว่างเมื่อมืดมน ช่วยให้เลือกตัดสินใจได้ด้วยตนเองเมื่อสับสนวุ่นวาย นักเรียนจะต้องมั่นใจว่า เมื่อมาหาครู จะพบกับรอยยิ้มมิใช่ด้วยหยาดน้ำตา หัวใจของครูจึงเป็นหัวใจของกัลยาณมิตร มิตรที่เป็นกัลยา คือ งดงาม เที่ยงตรง เปี่ยมด้วยวิชชาและกรุณาต่อศิษย์ ครูที่มีหัวใจเป็นกัลยาณมิตรของศิษย์เท่านั้น จึงจะเป็นครูที่ดีเด่นได้

๓.ครูคือผู้นำทางปัญญาและวิญญาณ

วิญญาณ คือ ความรู้แจ้งที่หยั่งรู้ว่าอะไรคือสิ่งผิดชอบชั่วดี อะไรคือบาปและบุญ อะไรคือความจริงและความเืืท็จ และอะไรคือความวิวัฒน์และวิบัติ ผู้ที่จะมีวิญญาณเช่นนี้ จะต้องได้รับการฝึกหัดขัดเกลา ได้รับการสั่งสอนฝึกฝนให้รู้จักภาวะที่แท้ของธรรมชาติ หน้าที่และกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ การปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ และประจักษ์ผลที่เกิดจากการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

นักเรียนจะมีปัญญาและวิญญาณที่ดีได้ก็ต่อเมื่อครูเป็นผู้รู้แจ้งรู้จริง และคิดชอบแล้ว สามารถเป็นผู้นำทาง ที่ถูก ที่ควร ให้เจริญรอยตามโดยนัยนี้ ครูจึงเป็นแบบอย่างและเป็นแม่พิมพ์ แต่ครูจะไม่ครอบงำและบังคับศิษย์ให้เป็นทาสความคิดของครู นักเรียนเป็นมนุษย์ เป็นตัวของตัวเอง ที่อาจจะเิดินตามครูได้ แต่จะต้องเดินด้วยวิธีและท่าทางของตนเอง ถ้าครูนำทางให้ถึงที่หมายอันพึงประสงค์ของหลักสูตรได้ ครูก็ทำหน้าที่สมบูรณ์แล้ว ครูที่เป็นผู้นำทางปัญญาและทางวิญญาณเท่้านั้น จึงจะเป็นครูที่ดีเด่นจริง

๔.ครูคือผู้มีศาสตร์และศิลปะ

การเป็นครูนั้น สักแต่ว่ามีความรู้มากกว่าเด็กก็เป็นครูได้ ผู้อยู่ในวงวิชาชีพครู จะเถียงย่อมได้

ครูที่เป็นครู ต้องสามารถประกาศได้ว่า วิชาครูนั้นเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง เป็นศาสตร์ที่มีพื้นฐานที่มาหนักแน่น มีหลักการและทฤษฎี มีวิธีการและแนวปฏิบัติ สามารถวิจัยและพัฒนาให้เกิดความรู้ใหม่ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพคุณธรรม เป็นศาสตร์ที่สรรค์สร้างให้ชีวิตและจิตใจของมนุษย์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและส่วนรวม ครุศาสตร์จึงมิใช่สามัญสำนึก (Common Sense) ไมใช่การลงทุนธุรกิจ ผู้ที่เป็นครูจึงต้องได้รับการฝึกฝนอบรม ทั้งในวิธีที่เป็นระบบและในครรลองของประสบการณ์

นอกจากนี้ การเป็นครู คือการพัฒนาคุณภาพของชีิวิต อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจะต้องมี คุณ (คือ ประโยชน์) มี งาม (คือความประณีตละเอียดอ่อน เป็นระเบียบ) และมี ความดี (คือ คุณธรรม) ศิลปะของการสอน ศิลปะของการสร้างความสัมพันธ์ ศิลปะของการกล่อมเกลาจิตใจและความประพฤติ เป็นคุณงามความดีที่ครูต้องสร้างและสั่งสมเอาไว้ตลอดชีวิตของครู ครูดีเด่นจึงต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสอน

๕.ครูคือผู้ค้ำจุนความเป็นไทย

ประเทศชาติจะมั่นคงได้อย่างไร อิสระภาพอยู่ที่ไหน ถ้าบ้านเมืองมีรั้วรอบขอบชิดแข็งแรง แต่ภายในบ้านเมืองนั้น มีแต่ความยับเยินทางเศรษฐกิจ มีแต่ความเป็นทาสทางวัฒนธรรม มีแต่ทาสทางความคิดที่ปล่อยไม่ไป

ครูจึงเป็นกลุ่มบุคคล ที่ต้องตรากตรำต่อสู้กับความเขลา ความไม่รู้ และความจนตรอกทางความคิด

การรู้จักมองคนอื่น และศึกษาแนวคิดของผู้อื่นนั้น นั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ครูไทยต้องเป็นคนมีหลัก และมีความเป็นไทย ครูไทยต้องรู้ว่า ประวัติและความเป็นมาของการสอนแบบไทยแท้ๆนั้นเป็นอย่างไร คุณค่าอันสูงส่งของการศึกษาไทยนั้นอยู่ที่ไหน จะจัดการสอนโดยนำเอาปรัชญาของไทยมาใช้ได้อย่างไร ผสมผสานกับหลักของสากลอย่างไร จึงจะเกิดวิธีการอันกลมกลืนเหมาะสมกับสภาพของเด็กไทยและชุมชนไทย

อาจจะกล่าวได้ว่าการเป็นครูนั้นไม่ใช่ใครก็เป็นได้ การจะเป็นครูก็คือจะต้องเป็นมนุษย์ และเป็นผู้นำทางปัญญาและวิญญาณ เป็นกัลยาณมิตร เป็นผู้มีศาสตร์และศิลปะ และเป็นผู้ค้ำจุนความเป็นไทย ฉะนั้นผู้ที่จะเข้าสู่วงการครูมีความประสงค์จะประกอบวิชาชีพครู จึงต้องมีความศรัทธาในวิชาชีพและกำหนดรูปแบบของครูที่ตนปรารถนาจะเป็น แล้วหมั่นฝึกฝนจิตใจ ความคิด สติปัญญา และความประพฤติ ปฏิบัติตนไปตามรูปแบบที่ตนกำหนดไว้ ก็ย่อมสามารถเป็นครูที่ดีได้

(ปัจฉิมนิเทศฝึกสอน โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ปี พ.ศ ๒๔๔๕)

พิจารณา..

อ่อนไปก็โดนเขาหมิ่น

แข็งไปก็มีภัยเวร…ว.วชิรเมธี

สันติสุข หรือ ฉันติดสุข

สุข

.

็ฺHBD

__ HBD song __

Happy Birthday to you

C    C     D    C     F   M

Happy Birthday to you

C     C     D    C    G   F

Happy Birthday   Happy Birthday

C     C     Cํ    A         F    M    D

Happy Birthday to you

A    A     A    F    G   F

🙂 C = ด  D = ร E= ม F= ฟ G= ซ A= ล C= ดํ

งาน ชีวิต ความรัก

จงทำทุกอย่างด้วยความรัก

หากไม่รักก็จงเลิกทำมันเสีย

___________________

แต่ถ้าหากเลิกหรือเลี่ยงไม่ได้

__________________

ก็จงใส่ความรักลงไป

แล้วจะพบว่า…

มันง่ายขึ้นมาก.

อาน..

ฉันคิดถึงแกนะ..

แกไปอยู่ที่ไหนก็ขอให้มีความสุข ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองนะ

รักเสมอ..


วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2554  เวลา 9.00 – 16.00 น.

ณ ห้องประชุมชั้น 2  หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (ฺBIA)

รายละเอียดกิจกรรมและลงทะเบียนที่นี่

(ไม่เสียค่าใช้จ่าย)

ที่มา หมู่บ้านพลัม